สิทธิข้าราชการเบิกจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกบางส่วน

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกบางส่วน

โรคข้อสะโพกเสื่อม, หัวกระดูกฟีเมอร์ขาดเลือดมาเลี้ยง (Arthritis of Hip, Avascular necrosis of the Femoral Head)

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้น อาจแบ่งใหญ่ๆ ออกเป็น 2 สาเหตุคือ

  1. โรคข้อสะโพกเสื่อมที่เกิดขึ้นเองอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเสื่อมตามอายุการใช้งาน ซึ่งจะพบมากในคนสูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  2. โรคข้อสะโพกเสื่อมที่เกิดจากความผิดปกติของข้อสะโพก เป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามหลังมาจากโรคอย่างใดอย่างหนึ่งของตัวข้อสะโพกมาก่อน สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ หัวกระดูกข้อสะโพกขาดเลือดมาเลี้ยงโดยเฉพาะ คนที่อายุน้อยกว่า 60 ปีลงมา สาเหตุอาจจะเกิดขึ้นในภาวะที่แตกต่างกัน เช่น การรับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน การรับประทานยาบางอย่างโดยเฉพาะยาแก้ปวด นักดำน้ำที่ชอบดำน้ำลึกๆ เป็นเวลานานๆ มีความผิดปกติเกี่ยวกับรูปร่างของตัวข้อสะโพกมาแต่กำเนิด, อุบัติเหตุที่ทำให้ข้อสะโพกแตกหักหรือหลุดทำให้ตัวหัวกระดูกข้อสะโพกขาดเลือดมาเลี้ยง

อาการของข้อสะโพกเสื่อมเบื้องต้นที่พอจะสับงเกตได้ เช่น เจ็บบริเวณขาหนีบด้านหน้าหรือบริเวณสะโพก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการขวดเข่าเป็นอาการนำ นองจากนั้นผู้ที่รู้สึกขัดๆ ฝืดๆ บริเวณสะโพกในตอนเช้าหรือเดินไม่คล่อง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาก่อนที่อาการเสื่อมจะรุนแรง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้อาการเสื่อมของข้อรุนแรงจนเกิดหัวสะโพกทรุด ทางเลือกในการรักษาจะมีน้อยลง โรคกระดูดต้นขาส่วนคอหักในผู้สูงอายุ (Fracture Femoral Neck in Elderly) ในผู้สูงอายุซึ่งมักพบว่ามีภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ร่วมอยู่ด้วยนั้น การหกล้มสะโพกกระแทกกับพื้นที่ไม่รุนแรงมากนักก็สามารถทำให้ประดูกสะโพกหักได้ ซึ่งแตกต่างจากในกลุ่มคนหนุ่มสาวกระดูกแข็งแรงที่มักเกิดจากอุบัติเหตุทางจราจรที่รุนแรงจริงๆ เท่านั้น

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกบางส่วน (Partial Hip Replacement)

  1. ข้อสะโพกเสื่อมในผู้สูงอายุ (Artritis of Hip in elderly)
  2. กระดูกต้นขาส่วนคอหักแล้วไม่เชื่อมติดกัน (Nonunion of fracture neck of femur)

เงื่อนไขการเข้ารับบริการ

  1. การเข้าร่วมโครงการเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมบัญชีกลาง และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  2. ราคานี้เป็นราคาส่วนร่วมจ่ายที่ผู้รับบริการต้องชำระเอง ตามวันนอนที่กำหนด
  3. ราคาดังกล่าวไม่รวมการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
  4. สิทธิ์นี้สำหรับข้าราชการและครอบครัว รวมถึงเจ้าหน้าที่ กสทช. ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมบัญชีกลาง และนำบัตรประชาชนมาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ก่อนรับบริการ
  5. ราคาดังกล่าวสามารถใช้ได้ตั้งแต่ วันนี้ – 31 ธันวาคม 2567

ตรวจสอบสิทธิ์ คลิกที่นี่

ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการระบบจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านกรมบัญชีกลาง

  1. ข้าราชการ
  2. ลูกจ้างประจำ
  3. ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ ที่มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาล (ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล)
  4. บุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวข้างต้น (บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรไม่เกิน 3 คน)

** ทั้งนี้ไม่รวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรภาครัฐอื่นๆ

โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น

โทร. 043 042 888 หรือ Call Center 1719
Line Official : @BangkokKhonkaen

Privacy Settings