การตรวจหาความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์

1

มาทำความรู้จักการตรวจหาความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์เถอะค่ะ (Fetal congenital heart anomaly screening)

Q: การตรวจหาความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์คืออะไรคะ ?

A: ความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์เป็นโรคที่เกี่ยวกับโครงสร้างหัวใจผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด พบได้ประมาณ 

ร้อยละ 1 ของทารกแรกเกิด ซึ่งส่งผลให้ กิดภาวะทุพพลภาพและอัตราการเสียชีวิตของทารกเพิ่มขึ้น ได้ค่ะ


Q: การวินิจฉัยก่อนคลอดสามารถทำได้หรือไม่คะ ?

A: สามารถตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดได้ค่ะ โดยในประเทศที่พัฒนาแล้วอัตราการวินิจฉัย "ความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์ได้ก่อนคลอดอยู่ที่ ร้อยละ 30-60 โดยการวินิจฉัยก่อนคลอดอาจจะทำได้ลดลงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการเช่น ประสบการณ์ของแพทย์ที่ทำอัลตราซาวด์หรือมารดาที่มีหน้าท้องหนาทำให้การมองเห็นความผิดปกติยากขึ้น เป็นต้น


Q: ทำไมเราต้องวินิจฉัยความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์คะ ?

A: การวินิจฉัยความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์ได้มีประโยชน์อย่างมากในแง่ของการตัดสินใจในการดูแลรักษา ฝากครรภ์ต่อของมารดาและครอบครัว นอกจากนี้ยังสามารถวางแผนการักษารวมถึงวางแผนการคลอดโดยเฉพาะรายที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดซับซ้อนเพื่อจะได้เตรียมส่งตัวต่อไปในสถานพยาบาลที่มีเครื่องมือและทีมแพทย์และพยาบาลพร้อมในการดูแลทารกกลุ่มนี้เมื่อแรกเกิด


Q: ใครที่มีความเสี่ยงต่อความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์บ้างคะ ?

A: โรคนี้สามารถเกิดได้กับมารดาที่มีความเสี่ยงเช่น การรับประทานยาบางอย่างที่มีผลต่อหัวใจทารกได้แก่ ยารักษาสิว (isotretinoin) ยากันชักบางชนิดเช่น ยาฟีโนบาบิทอร์ หรือมารดาที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ มารดาที่เป็นเบาหวานก่อนท้อง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยเสี่ยงโรคทางพันธุกรรมบางอย่างเช่น โรคดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการเทอร์เนอร์หรือดิจอร์จซินโดรม หรือทารกติดเชื้อบางอย่างในครรภ์เช่น โรคหัดเยอรมัน ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนี้เช่นเดียวกัน

 

การมีประวัติครอบครัวเป็นความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์ พบว่าหากมีทารกคนก่อนหน้าพบความผิดปกติ ในครรภ์ถัดมาอาจเกิดเป็นซ้ำได้ ร้อยละ 2-5 หรือ หากตัวมารดาเองเป็นการตรวจหาความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์แต่กำเนิดทำให้ทารกในครรภ์มีโอกาสพบความผิดปกติได้สูงถึง ร้อยละ 10-15 หรือถ้าหากบิดาเป็นโรคหัวใจทารกมีโอกาสเป็นโรค ร้อยละ 2 นอกจากนี้ยังพบว่าความเสี่ยงโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นในครรภ์แฝดแท้ ดังนั้นทารกกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องส่งตัวมาเพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคหัวใจของทารกก่อนคลอดด้วยเช่นกัน

 

 

Q: ชนิดของการตรวจหาความพิการของหัวใจสำหรับทารกในครรภ์มีอะไรบ้างคะ ?

A: ชนิดของโรคหัวใจพิการสำหรับทารกในครรภ์มีหลายชนิดเช่น ผนังกั้นหัวใจมีรูรั่ว หรือโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดเช่น เส้นเลือดแดงใหญ่ตีบ เส้นเลือดปอดตีบ เส้นเลือดแดงใหญ่สลับฝั่งซ้ายขวาและห้องหัวใจไม่พัฒนา เป็นต้น


Q: เมื่อทราบว่าลูกเป็นโรคหัวใจพิการระหว่างการตั้งครรภ์จะติดตามการรักษาและวางแผนอย่างไรคะ ?

A: เมื่อเราสามารถ"วินิจฉัยโรคหัวใจพิการระหว่างการตั้งครรภ์ก่อนคลอดได้ด้วยการติดตามอาการทารกในครรภ์โดยการ อัลตราซาวด์ทุกเดือน เพื่อทราบการดำเนินโรคและการวางแผนการคลอดเป็นสิ่งสำคัญ เพราะโรคหัวใจพิการบางชนิดต้องได้รับยาช่วยกระตุ้นหัวใจเมื่อแรกเกิดทันที หรือการเตรียมหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตสำหรับทารกแรกเกิดทันที รวมถึงการตรวจหัวใจทารกหลังคลอด เนื่องจากทารกกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการประเมินเพื่อวางแผนการในการผ่าตัดต่อไป


Q: หากเคยคลอดลูกเป็นโรคหัวใจพิการระหว่างการตั้งครรภ์ในครรภ์แรก ในครรภ์ถัดมาควรทำอย่างไรคะ ?

A: ในครรภ์ถัดมาแนะนำให้รีบมาฝากครรภ์และต้องได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติของหัวใจทารกในครรภ์โดยการ อัลตราซาวด์ที่อายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ


พญ.จตุพร ดวงกำ

แผนกสุขภาพสตรี

 

Privacy Settings