วัคซีนป้องกันงูสวัด ลดเสี่ยงรุนแรงถึงชีวิต

วัคซีนป้องกันงูสวัด ลดเสี่ยงรุนแรงถึงชีวิต

วัคซีนป้องกันงูสวัดคืออะไร

วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดชนิดไม่ใช่เชื้อเป็น Recombinant Subunit Zoster Vaccine (RZV) ใช้โปรตีนเฉพาะของไวรัสที่มีชื่อว่าไกลโคโปรตีนอี เหมาะกับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอเพราะไม่มีไวรัสที่มีชีวิต โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัดถึง 97.2% ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และ 91.3% ในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป รวมทั้งสามารถป้องกันอาการปวดเส้นประสาท (PHN) 91.2% และ 88.2% ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและอายุ 70 ปีขึ้นไปตามลำดับ


วัคซีนป้องกันงูสวัดต้องฉีดกี่เข็ม

วัคซีนป้องกันงูสวัด Recombinant Subunit Zoster Vaccine (RZV) ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็มที่กล้ามเนื้อต้นแขน 

  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรฉีดห่างกันเข็มละ 2-6 เดือน 
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา ใช้ยาสเตียรอยด์ หรือผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ควรฉีดห่างกัน 1-2 เดือน 

ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันงูสวัด

  • ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีความเสี่ยงภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีภูมิต่ำ  

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

  • คัน ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด 
  • ปวดหัว เจ็บกล้ามเนื้อ หนาวสั่น มีไข้ 
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ 
  • หากมีลมพิษ บวมที่ใบหน้าและลำคอ หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ อ่อนแรง หายใจลำบาก ควรรีบพบแพทย์ทันที

ข้อดีของวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดคืออะไร

  • ลดความเสี่ยง ลดความรุนแรง ลดอาการปวดหลังติดเชื้อ
  • ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกันโรคก่อนรับวัคซีน
  • สามารถฉีดร่วมกับวัคซีนอื่น ๆ ได้ เช่น วัคซีนปอดอักเสบ วัคซีนไข้หวัดใหญ่

* ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ติดตามนานที่ 10 ปีพบว่า ประสิทธิภาพยังสูงถึง 89% และคาดว่าสามารถป้องกันได้นานถึง 20 ปี โดยยังไม่มีคำแนะนำเรื่องการฉีดเข็มกระตุ้น


ข้อจำกัดในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ป้องกันโรคอีสุกอีใส

หากเคยเป็นโรคงูสวัดควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดเมื่อไร

ผู้ที่เคยเป็นโรคงูสวัดสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ จึงควรฉีดวัคซีนป้องกันหลังหายจากโรคอย่างน้อย 6 เดือน


โรคงูสวัดติดต่อได้ไหม

โรคงูสวัดสามารถติดต่อทางการสัมผัส เพราะในแผลที่มีตุ่มน้ำใสยังพบเชื้อไวรัสที่แพร่ไปยังผู้อื่นได้  

 

 

ข้อมูลโดย

นพ. ชยพล ชีถนอม

อายุรศาสตร์

โรงพยาบาลกรุงเทพ

แหล่งที่มา: 
Privacy Settings