อาชีวศาสตร์คืออะไร? และแพทย์อาชีวศาสตร์คือใคร?

อาชีวศาสตร์คืออะไร? และแพทย์อาชีวศาสตร์คือใคร?

อาชีวศาสตร์ (Occupational Medicine) ก็คือศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่ง ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพของคนทำงานโดยจะดำเนินการในด้านการป้องกันโรคเป็นหลัก แต่ก็รวมถึงการดำเนินการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษา และการฟื้นฟูปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการทำงานด้วย ส่วนแพทย์อาชีวศาสตร์ (Occupational Physician) ก็คือแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในศาสตร์ด้านอาชีวศาสตร์

ทำไมคนทำงานจึงควรตรวจสุขภาพ?

เนื่องจากในการพัฒนาขององค์กรหรือภาคธุรกิจใดๆก็ตามนั้น คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้า สร้างผลประโยชน์ให้กับตัวองค์กรนั้นเองและสังคมส่วนรวมได้ ในปัจจุบันนี้องค์กรหรือภาคธุรกิจต่างๆ จึงนิยมส่งพนักงานมาตรวจสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งการตรวจสุขภาพนี้ก็เป็นการดูแลให้คนทำงานภายในองค์กรนั้นมีความแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย สามารถทำงานให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น

การตรวจสุขภาพทางด้านอาชีวศาสตร์ (Occupational Health Examination) คือการตรวจสุขภาพใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้กับคนทำงาน มีหลายกรณี ดังนี้

  • การตรวจสุขภาพก่อนจ้างงาน (Pre-employment Examination)
  • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน (Pre-placement Examination)
  • การตรวจสุขภาพตามระยะ (Periodic Examination)
  • การตรวจประเมินความพร้อม ในการทำงาน (Fitness for work Examination)
  • การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงาน (Return to work Examination)
  • การตรวจสุขภาพก่อนเกษียณ (Retirement Examination)

ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์

ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ (Occupational Medicine Center) คือหน่วยงานทางการแพทย์ในโรงพยาบาลไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชนก็ตาม ที่มุ่งเน้นการให้บริการทางการแพทย์ด้านชีวเวชศาสตร์โดยเฉพาะ โดยมีเป้าหมายคือการให้บริการดูแลสุขภาพคนทำงานอย่างมีคุณภาพ ศูนย์ที่เปิดให้บริการอย่างครบวงจร อาจจะมีบริการครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพแก่องค์กรภาคธุรกิจต่างๆ การวางแผนและดำเนินการตรวจสุขภาพให้กับคนทำงาน การวินิจฉัยโรคจากการทำงาน การตรวจประเมินความพร้อมในการทำงาน การส่งเสริมสุขภาพ การเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ การเดินสำรวจสถานที่ฝึกอบรมแพทย์และพยาบาลด้วย ศูนย์อาชีวศาสตร์จะดำเนินการโดยทีมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ทีมพยาบาลอาชีวอนามัยและบุคลากรสหวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข

หลังจากสอบถามข้อมูลสุขภาพและตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจพิเศษเพื่อดูสมรรถภาพร่างกายของผู้เข้ารับการตรวจว่ามีความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศหรือไม่ โดยรายการตรวจพิเศษและเกณฑ์การพิจารณาเป็นดังนี้

รายการตรวจ เกณฑ์การพิจารณา
ดัชนีมวลกาย
(Body Mass Index)
สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้ เมื่อมีค่าไม่เกิน 35 กิโลกรัม/เมตร2
ความดันโลหิต
(Blood Pressure)
สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้ เมื่อมีระดับไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
อัตราเร็วชีพจร
(Pulse Rate)
สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้ เมื่ออยู่ในช่วง 60-100 ครั้ง/นาที หรือ 40-59 ครั้ง/นาที ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ (Sinus bradycardia) หรือ 101-120 ครั้ง/นาที ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ (Sinus Tachycardia)
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
(Electrocardiogram)
ให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาว่า คลื่นไฟฟ้าหัวใจลักษณะใดบ้างที่สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้ หรือไม่สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้
ภาพรังสีทรวงอก
(Chest X-ray)
ให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาว่า ผลภาพรังสีทรวงอกลักษณะใดบ้างที่สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้ หรือไม่สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้
สมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์
(Spirometry)
ให้ทำการตรวจและแปลผลโดยใช้เกณฑ์ของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2545 ผลการตรวจที่สามารถให้ทำงานได้ คือ ผลตรวจปกติ (Normal) หรือ จำกัดการขยายตัวเล็กน้อย (Mild Restriction) หรือ อุดกั้นเล็กน้อย (Mild Obstruction)
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
(Complete Blood Count)
สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้ เมื่อฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) มีระดับตั้งแต่ 10 กรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป และ ความเข้มข้นเลือด (Hematocrit) มีระดับตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไป และ เกล็ดเลือด (Platelet) มีระดับตั้งแต่ 100,000 เซลล์/มิลลิเมตร3 ขึ้นไป
สมรรถภาพการมองเห็นระยะไกล
(Far Vision Test)
สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้ เมื่อความสามารถการมองเห็นระยะไกลเมื่อมองด้วยสองตาที่ดีที่สุด หลังจากทำการแก้ไขแล้วอยู่ที่ระดับ 6/12 เมตร (20/40 ฟุต) หรือดีกว่า
สมรรถภาพการได้ยินเสียงพูด
(Whispered Voice Test)
สามารถให้ทำงานในที่อับอากาศได้ เมื่อผู้เข้ารับการตรวจสามารถได้ยินเสียงพูดและสื่อสารโต้ตอบกับแพทย์ผู้ตรวจได้เข้าใจดี
Privacy Settings