อาการ ปวดหลังตึงสะโพกร้าวลงขา

อาการ ปวดหลังตึงสะโพกร้าวลงขา

เป็นอาการหนึ่งที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง เป็นอาการที่มักจะได้รับการวินิจฉัยว่าปัญหาคือ มีการกดทับเส้นประสาทที่ออกมาจากกระดูกสันหลังส่วนเอวเราเรียกอาการปวดร้าวอย่างรุนแรงจากสะโพกร้าวไปถึงปลายเท้านี้ว่าอาการ "ไซอาติกา" ( Sciatica) สาเหตุที่พบบ่อยว่าทำให้เกิดอาการปวดแบบ "ไซอาติกา" คือโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น Herniated Nucleus Pulposus ซึ่งพบบ่อยได้ทั้ง อายุวัยรุ่น ถึงวัยกลางคน และถูกวินิจฉัยมากที่สุด

อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการปวดเช่นเดียวกันนี้ อาจเกิดขึ้นจากปัญหาอื่นได้เช่นกัน อาทิโรคกล้ามเนื้อสะโพก "หนีบทับเส้นประสาท" Piriformis syndrome บ้านเราเรียก "เอ็นตานกเอี้ยงหดเเละอักเสบ" ซึ่งพบบ่อยเช่นกัน หรือพบร่วมกันกับภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทได้ด้วยเช่นกัน เกิดจากการนั่งนานๆ ยืนนานๆ หรือล้มก้นกระแทก ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขาการตรวจร่างกายเพื่อแยกโรคนี้ออกจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนซึ่งการรักษาแตกต่างกันและพยากรณ์โรคแตกต่างกัน

โรคของข้อกระดูกเชิงกรานอักเสบหรือเสื่อม Sacroiliac Joint Dysfunction ก็เป็นโรคที่พบบ่อยว่าทำให้มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดจึงเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากมีหลายโรคทำให้มีอาการเช่นนี้ได้ดังกล่าวมาแล้วครับ

การรักษาอาการปวดหลังตึงก้นกบร้าวลงขา ขึ้นกับโรคที่วินิจฉัยโดยขั้นตอนวิธีการรักษา

  • ใช้ยาแก้ปวดรับประทานระยะสั้นเท่าที่จำเป็น: NSAIDs, muscle relaxant, opiods group
  • ท่าบริหารสำหรับผู้มีอาการกล้ามเนื้อสะโพกตึงตัว ได้ผลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม: back exercise
  • การระงับอาการปวดจากกระดูกทับเส้นด้วยการฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท: Interventional Selective Nerve Root Block

ช่วยรักษา ลด อาการปวดเอวร้าวลงขาได้ดี ลดการทานยาแก้ปวดที่มีผลต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายและลดโอกาสหรือชะลอการผ่าตัดกระดูกสันหลังแผลใหญ่ได้ ในภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทหรือกระดูกสันหลังทรุดทับเส้นประสาท

การระงับอาการปวดจากกระดูกทับเส้นด้วยการฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท มีผลทำให้เส้นประสาทลดการอักเสบ ลดบวม เพื่มการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทนั้นสามารถลดโปรตีนที่เป็นทอกซิน (IL1, TNF, Serotonin) ที่เป็นต้นเหตุของการปวดเรื้อรังได้ นี่คือทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายประสิทธิภาพของการรักษาฉีดยาลดการอักเสบผสมยาชาเข้าไปรอบๆ เส้นประสาทไขสันหลังเฉพาะระดับที่แพทย์วินิจฉัยว่า มีการกดทับเส้นประสาทอยู่เป็นการฉีดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าเส้นเลือด และทำการรักษา แบบผู้ป่วยนอกได้ ฉีดยาแล้ว ให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ กลับไปทำงานได้ ปกติ ลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ดี ในกรณีที่การกดทับเส้นประสาทที่เป็นไม่มาก เนื่องจากยาจะไปรักษาอยู่ในจุดที่ มีการกดทับโดยตรง มีผลการวิจัยแล้วว่ามีประสิทธิภาพจริง ทั้งในยุโรปเเละอเมริกา

  • เมื่อกำหนดจุดฉีดได้ตามที่ต้องการแพทย์จะฉีดยาชาที่ผิวหนังก่อนเพื่อลดปวดและเดินเข็มสู่จุดที่ต้องการจากนั้นก็จะเดินยาลดการอักเสบเข้าไป 2-5 cc. ในแต่ละจุด
  • กำหนดจุดที่จะทำการฉีดในลักษณะเดียวกันโดยมีภาพมอนิเตอร์การฉีดโดยตลอดทั้งนี้เพื่อความแม่นยำและประสิทธิผลในการรักษา

หลังการฉีดยาผู้ป่วยจะไม่มีร่องรอยแผลเป็นที่เห็นเหมือนการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ในวันรุ่งขึ้น นอกจากนี้ประโยชน์ของการฉีดยาวิธีนี้คือ การทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปออกกำลังกายและทำกายภาพบำบัดได้อย่างที่แพทย์แนะนำโดยไม่เจ็บปวดไปตามขา หากผู้ป่วยสามารถลดน้ำหนักตัวได้และออกกำลังกายต่อเนื่องก็จะสามารถหายจากโรคนี้ได้อย่างถาวร การผ่าตัด หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทแบบแผลเล็กด้วยกล้องกำลังขยาย 3 มิติ

Privacy Settings