ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)

ไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคปวดท้องเฉียบพลันและเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด สำหรับการผ่าตัดช่องท้องฉุกเฉิน พบมากถึง 8.6 % ของประชากกร โดยมากมักพบในเด็กจนถึงวัยทำงาน อาการปวดช่วงแรกจะเหมือนปวดท้องทั่วๆ ไปทุกอย่าง จะรู้สึกปวดทั่วๆ ไป บอกตำแหน่งแน่นอนไม่ได้ หลายคนบอกปวดถี่คล้ายโรคกระเพาะหรือปวดรอบสะดือมักเป็นอยู่ตลอดเวลา บางคนช่วงแรกอาจไม่ปวดเลยก็ได้ ต่อมาอาการปวดจะย้ายมาปวดท้องด้านขวาล่างร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและเบื่ออาหารและบางรายอาจมีไข้

สาเหตุของการเกิดไส้ติ่งอักเสบ

สาเหตุเกิดจากการอุดตันของไส้ติ่ง โดยอาจเกิดจากอาหารที่ทานเข้าไปที่เป็นอุจจาระก้อนแข็งแล้วอุดตันในไส้ติ่ง หรือเกิดจากการติดเชื้อแล้วทำให้เกิดการอักเสบของไส้ติ่งก็ได้ ซึ่งเรียกว่าภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน เมื่อกระบวนการอักเสบเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเกิดภาวะไส้ติ่งแตกตามมาได้

ดังนั้น จุดสังเกตที่สำคัญ คือ ถ้ามีอาการปวดท้องน้อยด้านขวามาก ร่วมกับมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ให้สงสัยเอาไว้ก่อนว่าอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบได้ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว อย่าพยายามกินยารักษาเอง เนื่องจากทำให้วินิจฉัยได้ยากมากขึ้น และถ้าปล่อยเอาไว้จนไส้ติ่งแตกจะทำให้การอักเสบลุกลาม มีอาการแทรกซ้อนมากกว่ากันมาก

การรักษาไส้ติ่งอักเสบ

เมื่อเราได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ปัจจุบันการรักษามาตรฐานยังเป็นการผ่าตัด ร่วมกับการให้ยาปฎิชีวนะ สำหรับการผ่าตัดสามารถทำได้ทั้งแบบเปิดช่องท้องและผ่าตัดส่องกล้อง โดยการส่องกล้องจะมีแผลเล็กๆ ที่หน้าท้อง แบบเจาะรูเข้าไปเพียง 1-3 รู แล้วทำให้ 1-2 วัน ก็สามารถกลับบ้านได้ ที่สำคัญวันรุ่งขึ้นสามารถเดินได้เลยไม่ปวดเดินตัวงอเหมือนผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม

สอบถามเพิ่มเติม
แผนกศัลยกรรมและผ่าตัด ชั้น 1 รพ.กรุงเทพขอนแก่น
โทร. 1719 หรือ 043-042790

ศัลยศาสตร์ (Surgery)
 
Privacy Settings