อันตรายต่อดวงตา​ จาก แมลงมีพิษกัดต่อยในฤดูฝน​

แมลงมีพิษกัดต่อยในฤดูฝน​

ด้วงก้นกระดก หรือ แมลงก้นกระดก​ จะมีสารพิษเพเดอริน (Pederin) ซึ่งมีลักษณะเป็นกรดที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง หากเกิดไปสัมผัส บี้ ตบหรือตี แมลงก้นกระดกจะปล่อยของเหลวออกมาซึ่งเป็นพิษต่อผิวหนังได้​


แมลงตด (Bombardier Beetle) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งจำพวกเดียวกันกับด้วงดิน ลำตัวยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร โดยสารพิษของแมลงตดมีคุณสมบัติเป็นกรด แมลงตดจะพ่นสารพิษ และเมื่อโดนผิวหนัง จะทำให้เกิดรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน หากโดนเข้าที่ดวงตาอาจทำให้ตาบอดได้​​


ตัวเรือด​ มักหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ตามที่นอน ซอกเตียง เก้าอี้ ตามรอยแตกของผนังห้อง เพดานห้อง พื้นห้อง โดยเฉพาะที่ที่ค่อนข้างสกปรก โดยอันตรายที่เกิดจากตัวเรือดคือเมื่อโดนดูดเลือดจะเกิดรอยผื่นแดงและมีอาการคัน และถ้ายิ่งเกาก็จะยิ่งอักเสบจนเกิดการติดเชื้อ​ ​


ด้วงน้ำมัน เป็นแมลงปีกแข็ง ด้วงน้ำมันเหลืองดำใหญ่หรือ ด้วงไฟเดือนห้า ชาวบ้านเรียกว่า “แมลงเต่าบ้า” พบได้ทั่วประเทศไทย พิษของด้วงน้ำมันทำให้เกิดผื่นพอง ปวดแสบ ปวดร้อน และถ้าพิษเข้าตาก็จะทำให้ตาอักเสบอย่างรุนแรง และหากเผลอรับประทานอาจทำให้เสียชีวิตได้​ ​


วิธีการรักษาเมื่อสัมผัสแมลงมีพิษ​

  1. เมื่อโดนพิษจากแมลงให้รีบล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลล้างทันที
  2. เมื่อพบเห็นหรือถูกแมลงชนิดนี้เกาะที่ร่างกาย ห้ามตี หรือขยี้ด้วยมือเปล่า เพราะจะทำให้สารพิษสัมผัสผิวหนัง ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษเขี่ยแมลงนี้ออกไปและรีบล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาดให้เร็วที่สุด
  3. หากอาการผื่นแดงรุนแรงมาก อาจจำป็นต้องได้รับการรักษาโดยการพบแพทย์ จะใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ในการรักษา ส่วนรอยดำที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ จางและหายไปเอง ไม่เป็นแผลเป็น

อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันโรคผิวหนังกรมการแพทย์​
ด้วยความปรารถนาดีจาก แผนกจักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น​

Privacy Settings