1) ข้อมูลเบื้องตัน (General Information)
โรคทางเดินหายใจ โรคหวัด เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วยเชื้อ Rhino-viruses adenoviruses และ Respiratory syncytial virus (RSV)
โรคนี้เป็นโรคที่หายได้เอง แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุด เพราะเมื่อได้รับเชื้อเข้าไปทางจมูก หรือระบบทางเดินหายใจจะทำให้เยื่อบุจมูกบวมแดง มีการหลั่งของเมือกออกมาเป็นน้ำมูกทำให้หายใจไม่ออกและ ไอตามลำดับ อาจมีภาวะแทรกซ้อนถ้าเชื้อเข้าไปยังหลอดลม ปอด หรือเกิดโรคปอดบวมตามมา ซึ่งเป็นภาวะที่มีของเหลวคั่งค้างในปอดทำให้มีความผิดปกติในการไหลเวียนอากาศ ไม่สามารถขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้ ปอดแลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน การหายใจผิดปกติ เหนื่อยง่าย และอาจถึงแก่ชีวิตได้
การรักษา ไม่มียารักษาเฉพาะ ให้รักษาตามอาการและพักผ่อนให้เพียงพอ ยาปฏิชีวนะจะเริ่มให้เมื่อเริ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรียเช่น มีน้ำมูก หรือเสมหะเป็นสีเขียว การทำกายภาพบำบัดทรวงอกเป็นการรักษาทางเลือกที่มีข้อบ่งชี้ในการทำดังนี้ มีภาวะเสมหะเหนียวข้น หรือมีปริมาณมาก เช่น ภาวะปอดอักเสบ, ภาวะหลอดลมอักเสบ, ภาวะปอดแฟบ เนื่องจากเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ ทารกแรกเกิด หรือเด็กเล็กที่มีเสมหะไม่สามารถไอขับเสมหะออกเองได้ เป็นต้น
การดูดเสมหะ หมายถึง การใช้สายยางดูดเสมหะซึ่งปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปาก จมูก เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจเนื่องจากผู้ป่วยไอขับเสมหะออกเองไม่ได้
2) ทางเลือกอื่น (Alternative Treatment)
- การรักษาทางกายภาพบำบัด มีวัตถุประสงค์เพื่อระบายเสมหะออกให้มากที่สุด เพิ่มการไหลเวียนอากาศ และฟื้นฟูร่างกายให้คืน สภาพโดยเร็ว ในกระบวนการรักษานี้ต้องมีการจัดท่าเพื่อให้ของเหลวไหลออกมา การเคาะ สั่น เขย่าปอด การฝึกหายใจ การไอ อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการดูดเสมหะเพื่อระบายสารคัดหลั่งที่คั่งค้าง รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อการรักษา
- การปฏิบัติตัว หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ควรออกกำลังกาย พักผ่อน และเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
3) ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา (Possible Risk and side effect of treatment)
อาจมีอาการหอบ เหนื่อย ไอมาก หลังจากการทำกายภาพบำบัดด้วยการเคาะปอด การดูดเสมหะ
4) การปฏิบัติตัวก่อน-หลัง (Pre-Post Treatment /Procedure Instruction)
- การเตรียมผู้ป่วย
- ผู้ป่วยควรสวมเสื้อผ้าที่หลวมสบาย เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายพร้อมสำหรับการทำกายภาพบำบัด ไม่ควรเป็นเสื้อผ้าที่มีกระดุม หรือมีซิบบริเวณทรวงอก และแผ่นหลังเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลขณะเคาะปอด
- ผู้ป่วยได้รับการอธิบายกระบวนการที่จะได้รับการรักษา ความรู้สึกที่จะเกิดขึ้น การสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้น
- มีการวัดสัญญาณชีพ ก่อน ระหว่าง และหลังการทำกายภาพบำบัด
- ควรทำก่อนอาหารหรือหลังทานอาหารประมาณ 1 - 2 ชั่วโมงเพื่อหลีกเลี่ยงการอาเจียน และสำลักเอาเศษอาหารลงไปในหลอดลม
- ในรายที่ได้รับการพ่นยาขยายหลอดลม ควรทำการพ่นก่อนการทำกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเสมหะ
- การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ
- การจัดทำผู้ป่วยโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง จัดทำให้ปอดส่วนนั้นๆ อยู่ในแนวดิ่งจะทำให้เสมหะมีการเทไหลเคลื่อนออกมายัง หลอดลมขนาดใหญ่ และกระตุ้นการไอได้ ปอดกลีบบนให้จัดในท่านั่ง ปอดกลีบกลาง และล่าง ให้จัดในท่านอนศีรษะต่ำกว่า ทรวงอก
- อาจใช้วิธีการเคาะปอด หรือสั่นปอดร่วมด้วย ในเด็กโต ใช้ระยะเวลาในแต่ละท่าประมาณ 3 - 5 นาที สำหรับทารกแรกเกิดใช้ เวลาท่าละ 2 - 3 นาที ใช้เวลารวมทั้งหมดไม่เกิน 30 นาที
ข้อห้าม/ข้อควรระวัง การจัดท่าให้ศีรษะต่ำเป็นข้อห้ามในกรณีต่อไปนี้ ความดันในสมองไม่คงที่ การทำงานของหัวใจไม่คงที่ ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ กล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ภาวะหลังผ่าตัดที่ช่องท้องหรือทรวงอก ผู้ป่วยที่มีกระดูกซี่โครงหัผู้ป่วยที่มีสมรรถภาพการหายใจไม่ดี ผู้ป่วยมีแนวโน้มสำลักง่าย ผู้ที่มีภาวะอ้วนมาก ผู้ที่มีภาวะเหนื่อยง่าย
วิธีการ: การจัดท่าให้ผู้ป่วยควรให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายที่สุด และให้ผู้ป่วยไอได้สะดวก หรือทำการดูดเสมหะได้ง่าย โดย จัดท่าระบายเสมหะ ดังรูปภาพ
การประเมินสภาพผู้ป่วย / ข้อบ่งชี้ แบ่งได้ 2 กรณี คือ
- พบปัจจัยเสี่ยงต่อเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ
- ผู้ป่วยขับเสมหะออกเองไม่ได้
- เสมหะปริมาณมาก ลักษณะเสมหะเหนียว
- อาการแสดงของเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ
- ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หายใจลำบาก
- หายใจเสียงดัง หรือการได้ยินเสียงเสมหะภายในหลอดลมของผู้ป่วย
- อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
- การฟังปอดได้เสียงผิดปกติ
- ผิวหนัง เล็บมีอ หรือเล็บเท้า มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน
การรักษาทางกายภาพบำบัดทรวงอก
การเตรียมผู้ป่วย
- อธิบายวิธีการให้ญาติผู้ป่วยให้เข้าใจ เพื่อช่วยลดความกลัวและให้ความร่วมมือ
- การจัดท่าที่เหมาะสมในการดูดเสมหะ คือต้องจัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา เพื่อป้องกันการสำลัก
- เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการดูดเสมหะ ก่อนดูดเสมหะทุกครั้ง ควรปฏิบัติดังนี้
- ผู้ป่วยที่หายใจเอง ควรก ระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ 2-3 ครั้ง
- ผู้ป่วยที่หายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ ควรให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง นาน 30 - 60 วินาที
- เพื่อปองกันการสำลัก อาเจียนเศษอาหารที่ยังไม่ย่อย ให้งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
การประเมินผลการดูคเสมหะ
ข้อบ่งชี้ที่แสดงว่า การดูดเสมหะมีประสิทธิภาพ เช่น
- ปริมาณเสมหะลดลง
- อัตราการหายใจ และอัตราชีพจรอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ไม่มีอาการหายใจลำบาก
- ไม่มีเสียงเสมหะภายในหลอดลมของผู้ป่วย
- ผิวหนัง เล็บมือ หรือเล็บเท้า ไม่มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน
การเคาะปอด (percussion)
การเคาะปอด จะทำมือเป็นรูปถ้วยและเคาะ เพื่อช่วยร่อนเสมหะที่คั่งค้างในทางเดินหายใจ ให้เคลื่อนตัวขึ้นมายัง ทางเดินหายใจส่วนต้น การเคาะปอดสามารถกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของหลอดลมได้ ซึ่งจะทำให้ทารกขาดอากาศหายใจได้ ดังนั้นในทารกที่มีปัญหาหลอดลมเกร็งตัว ควรได้รับยาขยายหลอดลมก่อนการรักษาทางกายภาพบำบัดทรวงอก โดยเฉพาะ การเคาะปอดเสมอ ใช้เวลาเคาะปอดข้างละ 3 - 5 นาที
การสั่นปอด (Vibration)
การสั่นปอดจะเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่นิยมใช้ ความรุนแรงน้อยกว่าการเคาะ และสามารถประยุกต์ใช้กับทารกที่ค่า สัญญาณชีพไม่คงที่ได้ การสั่นปอดจะช่วยบีบไล่ให้เสมหะเคลื่อนตัวมายังทางเดินหายใจส่วนต้น การสั่นปอดจะใช้ฝ่ามือช้าง เดียว หรือทั้งสองข้างวางบนทรวงอกของผู้ป่วย นักกายภาพออกแรง สั่นสะเทือนจากฝ่ามือไปบริเวณผนังทรวงอกขณะหายใจ เข้าช่วงท้ายและตลอดช่วงหายใจออก
การดูดเสมหะ (Suction)
เนื่องจากท่อทางเดินหายใจของเด็กแคบและสั้น ภายหลังจากการสั่นปอดและเคาะปอดจะทำให้เสมหะที่คั่งค้างอยู่ ในปอดออกมาสู่ท่อลมส่วนต้น หากเด็กไม่มีการไอ หรือไม่มีการดูดเสมหะออกนอกร่างกาย จะทำให้เกิดการอุดกั้นของท่อลม ได้ง่าย ทำให้สามารถขาดอากาศ หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การดูดเสมหะจะสามารถดูดผ่านได้ทั้งทางปากและทางจมูก แรงดูดที่เหมาะสมในเด็กเล็ก 60 - 80 มิลลิเมตรปรอท เด็กโต 80 - 100 มิลลิเมตรปรอท
การประยุกต์เคาะปอดในท่านั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายได้ที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น
โทร: 043-042811