สิทธิข้าราชการเบิกจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง

การผ่าตัดซ่อมเยื่อแก้วหู

การผ่าตัดซ่อมเยื่อแก้วหู

โรคแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum)

อาการแก้วหูทะลุสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน และมีอยู่หลายสาเหตุที่ค่อนข้างใกล้ตัวซึ่งทำให้เกิดภาวะดังกล่าว เช่น แคะหู ว่ายน้ำ ฯลฯ เป็นอีกภาวะหนึ่งที่อาจฟังดูน่ากลัว และหลายคนยังสงสัยอยู่ว่าการที่แก้วหูทะลุนั้นเป็นอันตรายมากหรือน้อยเพียงใด ในครั้งนี้จึงมีข้อมูลรายละเอียดมานำเสนอเพื่อทำการศึกษาร่วมกัน

แก้วหูทะลุ เป็นภาวะที่เยื่อแก้วหูมีการฉีกขาด โดยเยื่อแก้วหูนั้นจะอยู่ลึกเข้าไปในรูหู เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นนอก (ที่ประกอบไปด้วยใบหูและรูหู) กับหูชั้นกลาง ลักษณะเป็นแผ่นกลมบางเหมือนหนังกลอง เมื่อเยื่อแก้วหูได้รับการกระแทกที่เกิดจากการบาดเจ็บ มักพบเป็นวงรีหรือแตกออกเป็นหลายแฉกคล้ายรูปดาว ขอบไม่เรียบและมักมีเลือดคั่งบริเวณขอบของรอยทะลุหรือภายในช่องหู

สาเหตุของแก้วหูทะลุมีหลายอย่างด้วยกัน

ได้แก่ การบาดเจ็บทั้งหลาย เช่น การถูกกระแทกขณะใช้อุปกรณ์แคะหู หรือมีการอัดกระแทกที่หู เช่น ถูกตบบ้องหูอย่างรุนแรง หรือการเปลี่ยนความดันของสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว เช่น ดำน้ำลึกแบบเร็วๆ เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีในเรื่องของการติดเชื้อที่หูชั้นกลางที่ทำให้แก้วหูทะลุได้

ในส่วนของการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง แบ่งออกเป็น 2 ประการใหญ่ๆ ได้แก่ การติดเชื้อแบบเฉียบพลันและการติดเชื้อแบบเรื้อรัง การติดเชื้อแบบเฉียบพลันคือเมื่อหูชั้นกลางติดเชื้อ แล้วหนองในหูมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความดันในหูชั้นกลางสูงขึ้นจนแก้วหูทะลุในที่สุด ส่วนการติดเชื้อแบบเรื้อรังคือการที่รอยทะลุของแก้วหูเกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อน ทั้งจากการที่ผู้ป่วยเป็นหวัดหรือมีน้ำเข้าหู

อาการของแก้วหูทะลุจากการติดเชื้อเฉียบพลัน

คือเป็นไข้ ปวดหู และมีหนองไหลออกจากหู มีลักษณะเป็นๆ หายๆ และจะไม่ค่อยปวดมาก ส่งผลให้การได้ยินลดลงตามมา หากเกิดจากอาการบาดเจ็บ จะมีอาการปวดหู เลือดไหลออกจากหู และมีเสียงอื้อในหู อัตราการได้ยินลดลง หากไม่มีการติดเชื้อซ้ำซ้อนจะสามารถหายเองได้ภายใน 2-3 เดือน โดยไม่ต้องรักษา

หูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic suppurative otitis media)

โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในหูชั้นกลาง หูชั้นกลางคือพื้นที่บริเวณด้านหลังแก้วหู โรคหูชั้นกลางอักเสบมักจะเกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ การรักษาโรคส่วนใหญ่มักจะเป็นการบรรเทาความเจ็บปวด และการควบคุมเชื้อโรคเนื่องจากการติดเชื่้อในหูมักจะหายได้เองในที่สุด ผู้ป่วยบางคนมักจะเกิดการติดเชื้อในหูได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ผู้ป้วยที่การติดเชื้อในหูชั้นกลางซ้ำๆ จะมีโอกาสมีปัญหาการได้ยินและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

อาการ

อักเสบของหูจะก่อให้เกิดอาการที่แตกต่างกันออกไปในเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับเด็ก อาการอาจจะรวมถึงการปวดหู การดึงหรือขยี้หูตัวเอง ปัญหาในการนอนหลับ อารมณ์ฉุนเฉียว การร้องไห้มากกว่าปกติ (excessive crying) เด็กอาจจะพบปัญหาการได้ยิน หรือปัญหาในการตอบสนองต่อเสียง ทรงตัวไม่ได้ มีไข้ในอุณหภูมิที่ 38 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า นอกจากนี้อาการอย่าง ของเหลวไหลออกจากหู ปวดศรีษะ หรือเบื่ออาหารก็เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็ก อาการที่มักจะพบบ่อยในผู้ใหญ่ คือ ปวดหู มีของเหลวที่ไหลออกจากหู หรืออาจมีปัญหาการได้ยิน

สาเหตุโรค

แบคทีเรียหรือไวรัสคือสาเหตของการเกิดการติดเชื้อในหู การติดเชื้อในหูมักจะเป็นอาการหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นหลังจากอาการเจ็บป่วยอย่าง โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคภูมิแพ้ โรคเหล่านี้ก่อให้เกิดอาการคัดจมูก หรือการบวมบริเวณโพรงจมูก ช่องคอ และท่อยูสเตเชียน ท่อยูสเตเชียนเป็นท่อขนาดเล็กที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและช่องคอ

นอกจากนี้ยังมีภาวะอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นในหูชั้นกลางที่อาจมีความเชื่อมโยงกับการติดเชื้อในหู รวมถึงยังมีการติดเชื้อจากโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นในบริเวณหูชั้นกลาง

  • หูชั้นกลางอักเสบและมีน้ำในหู (Otitis media with effusion) คือการที่มีอาการบวมหรือมีของเหลวอยู่ในบริเวณหูชั้นกลางแต่ไม่ได้มีสาเหตมาจากแบคทีเรียหรือไวรัส แต่อาจจะมีสาเหตจากความผิดปกติหรือมีสิ่งอุดตันภายในท่อยูสเตเชียน
  • หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันและมีน้ำในหู (Chronic otitis media with effusion) คือการมีของเหลวลงเหลืออยู่ในหูชั้นกลาง โดยจะเกิดขึ้นเมื่อมีการกลับมาเกิดซ้ำโดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือไวรัส เนื่องจากเด็กมีโอาสติดเชื้อในหูได้ง่าย นี่จึงเป็นสาเหตที่โรคนี้สามารถมีการเกิดซ้ำๆ หากเกิดอาการรุนแรง อาจส่งผลให้มีปัญหาการได้ยินได้
  • หูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic suppurative otitis media) เป็นการติดเชื้อในหูที่ไม่สามารถรักษาด้วยการรักษาทั่วไป โรคหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรังสามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อแก้วหูทะลุ (perforated eardrum) หรือแก้วหูเป็นรู

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด (ต้องมีอย่างน้อย 1 ข้อ)

  1. ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (มากกว่า 3 เดือน) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาหรือการส่องกล้องผ่าตัด
  2. ไซนัสอักเสบจากเชื้อรา
  3. ริดสีดวงจมูก (Nasal polyp)
  4. มีก้อนที่โพรงอากาศข้างจมูกเป็นจำนวนมากหรือเป็นซ้ำๆ (Antrochoanal Polyp)

เงื่อนไขการเข้ารับบริการ

  1. การเข้าร่วมโครงการเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมบัญชีกลาง และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  2. ราคานี้เป็นราคาส่วนร่วมจ่ายที่ผู้รับบริการต้องชำระเอง ตามวันนอนที่กำหนด
  3. ราคาดังกล่าวไม่รวมการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
  4. สิทธิ์นี้สำหรับข้าราชการและครอบครัว รวมถึงเจ้าหน้าที่ กสทช. ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมบัญชีกลาง และนำบัตรประชาชนมาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ก่อนรับบริการ
  5. ราคาดังกล่าวสามารถใช้ได้ตั้งแต่ วันนี้ – 31 ธันวาคม 2567

ตรวจสอบสิทธิ์ คลิกที่นี่

ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการระบบจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านกรมบัญชีกลาง

  1. ข้าราชการ
  2. ลูกจ้างประจำ
  3. ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ ที่มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาล (ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล)
  4. บุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวข้างต้น (บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรไม่เกิน 3 คน)

** ทั้งนี้ไม่รวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรภาครัฐอื่นๆ

โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น

โทร. 043 042 888 หรือ Call Center 1719
Line Official : @BangkokKhonkaen

Privacy Settings