สิทธิข้าราชการเบิกจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง

การผ่าตัดหลอดเลือดอัณฑะโป่งพอง

การผ่าตัดหลอดเลือดอัณฑะโป่งพอง

หลอดเลือดโป่งพองคืออะไร

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง คือ สภาวะที่หลอดเลือดขยายใหญ่หรือโป่งพองขึ้น จากผนังหลอดเลือดแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น เกิดได้จากหลายสาเหตุ
 

ปัจจัยเสี่ยงหลอดเลือดโป่งพอง

ปัจจัยเสี่ยง 7 ข้อ ได้แก่

1) บุหรี่
2) ความดันโลหิตสูง
3) ภาวะไขมันในเลือดสูง
4) น้ำหนักตัวเกิน
5) ความเครียด
6) กรรมพันธุ์
7) การติดเชื้อในกระแสเลือด
 

รักษาหลอดเลือดโป่งพองอย่างไร

สำหรับการรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หากพบการโป่งพองไม่เกิน 5 เซนติเมตร แพทย์จะให้รับประทานยาร่วมกับการติดตามผลการรักษา โดยการเอกซเรย์หรืออัลตราซาวนด์ปีละ 1 ครั้ง แต่หากโป่งพองมากกว่า 5 เซนติเมตร แพทย์จะให้ยารับประทานและติดตามผลถี่ขึ้น ร่วมกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยง แต่หากเส้นเลือดที่โป่งพองแตก ต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วโอกาสรอดชีวิตยิ่งมีมาก

ความรุนแรงเมื่อหลอดเลือดโป่งพองคืออะไร

ความน่ากลัวของโรคนี้คือ ผู้ป่วยไม่รู้ตัวมาก่อน เพราะโป่งพองไม่มาก จะไม่มีอาการแสดงออก กระทั่งเมื่อเส้นเลือดโป่งพองมากจนไปกดทับอวัยวะข้างเคียง ก็จะเกิดอาการกับอวัยวะนั้น เช่น อาการปวดแน่นในท้อง แม้โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมีโอกาสหาย หากเส้นเลือดที่โป่งพองไม่แตก ในทางกลับกันหากหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพองในช่องท้องหรือบริเวณอื่นแตก อัตราการเสียชีวิตจะสูงถึง 50%
 

ป้องกันหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

การดูแลป้องกันตนเองจากหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ทำได้โดยตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง

  • ในผู้ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี แต่อายุกิน 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจร่างกายโดยใส่ใจการเอกซเรย์ปอด อัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจการทำงานของตับ ไต ทดสอบประสิทธิภาพของหัวใจ
  • ในผู้ที่อายุ 30 – 45 ปีเป็นช่วงอายุกึ่งกลาง ต้องพิจารณาจาก 7 ปัจจัยเสี่ยงข้างต้น หากพบว่าน้อยกว่า 3 ปัจจัยก็สามารถตรวจสุขภาพเหมือนคนอายุ 30 ปี แต่หากพบปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 3 ปัจจัย ควรตรวจสุขภาพเหมือนคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่หากพบว่าหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องแตก ต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วยิ่งมีโอกาสรอด ที่สำคัญควรเลือกโรงพยาบาลที่มีศัลยแพทย์และเครื่องมือที่พร้อมจะทำการผ่าตัดให้เร็วที่สุด

เงื่อนไขการเข้ารับบริการ

  1. การเข้าร่วมโครงการเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมบัญชีกลาง และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  2. ราคานี้เป็นราคาส่วนร่วมจ่ายที่ผู้รับบริการต้องชำระเอง ตามวันนอนที่กำหนด
  3. ราคาดังกล่าวไม่รวมการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
  4. สิทธิ์นี้สำหรับข้าราชการและครอบครัว รวมถึงเจ้าหน้าที่ กสทช. ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมบัญชีกลาง และนำบัตรประชาชนมาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ก่อนรับบริการ
  5. ราคาดังกล่าวสามารถใช้ได้ตั้งแต่ วันนี้ – 31 ธันวาคม 2567

ตรวจสอบสิทธิ์ คลิกที่นี่

ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการระบบจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านกรมบัญชีกลาง

  1. ข้าราชการ
  2. ลูกจ้างประจำ
  3. ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ ที่มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาล (ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล)
  4. บุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวข้างต้น (บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรไม่เกิน 3 คน)

** ทั้งนี้ไม่รวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรภาครัฐอื่นๆ

โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น

โทร. 043 042 888 หรือ Call Center 1719
Line Official : @BangkokKhonkaen

Privacy Settings