โรคปากแหว่งเพดานโหว่
ปากแหว่งเพดานโหว่ (cleft lip and cleft palate) เป็นความพิการของใบหน้าที่เกิดกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ประมาณ 1 - 2 คนต่อทารกแรกเกิด 1,000 คน โดยพบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 700 – 800 คนต่อปี
สาเหตุของโรค
โรคปากแหว่งเพดานโหว่ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมที่ผิดปกติ หรือปัจจัยภายนอกที่กระทบคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหาร ผลข้างเคียงของยาหรือสารเคมีบางอย่าง รวมถึงการติดเชื้อ
อาการของโรค
ปากแหว่งเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้จากภายนอก คือ มีรอยแยกของริมฝีปากบนและอาจเป็นไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้าได้ด้วย อาจเป็นด้านเดียวหรือสองด้าน
ส่วนเพดานโหว่ คือ รอยแยกที่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง อาจมีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อที่เปิดปิดทางระบายหูชั้นกลางผิดปกติ มีน้ำคั่งในหูชั้นกลางส่งผลให้การได้ยินลดลง มีโครงสร้างของกระดูกใบหน้าส่วนกลางผิดปกติ มีการสบกันของฟันผิดปกติ ทำให้มีปัญหาการพูด พูดไม่ชัด เสียงขึ้นจมูก
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด (ต้องมีอย่างน้อย 1 ข้อ)
- ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (มากกว่า 3 เดือน) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาหรือการส่องกล้องผ่าตัด
- ไซนัสอักเสบจากเชื้อรา
- ริดสีดวงจมูก (Nasal polyp)
- มีก้อนที่โพรงอากาศข้างจมูกเป็นจำนวนมากหรือเป็นซ้ำๆ (Antrochoanal Polyp)