ไซนัส หรือ โพรงอากาศข้างจมูก (Paranasal Sinuses)
โพรงอากาศที่อยู่บริเวณกะโหลกที่อยู่ข้างกะโหลก โดยจะมีทั้งหมด 4 คู่ โดยแต่ละคู่จะอยู่คนละข้างของจมูก ได้แก่ บริเวณหน้าผาก (Frontal sinus) ไซนัสข้างหัวตา (Ethmoid sinus) ไซนัสโหนกแก้ม (Maxillary sinus) และด้านหลังจมูกบริเวณติดกับฐานกะโหลก (Sphenoid sinus) ซึ่งไซนัสทั้งหมดจะมีรูระบายหรือรูเปิดของไซนัสในโพรงจมูก เมื่อเกิดการอุดตันของรูเปิดไซนัสก็จะทำให้เกิดไซนัสเกิดการอักเสบตามมา โดยไซนัสอักเสบมีทั้งหมด 2 ชนิด คือ
- ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน คือมีการอักเสบแต่สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 3 เดือน
- ไซนัสอักเสบเรื้อรัง คือรักษาที่ใช้เวลานานกว่า 3 เดือน และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด
สาเหตุของการเกิดไซนัส
ไซนัสอักเสบเกิดจากอะไรก็ตามที่ทำให้รูไซนัสเปิดและมีการอุดตัน เช่น
- การเป็นหวัด เมื่อเป็นหวัดจะทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัส รูเปิดที่ติดต่อระหว่างจมูกกับไซนัสตีบตัน ถ้าการบวมของเยื่อภายในช่องจมูกและไซนัสหายสนิทภายใน 7-10 วัน ก็ไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับไซนัส แต่หากเป็นหวัดนานเกิน 7-10 วัน แล้วไม่หาย หรือเป็นหวัด 3-5 วันแล้วอาการแย่ลง
- โรคภูมิแพ้ เพราะภูมิแพ้ทำ ให้เยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัสบวม เป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการไซนัสอักเสบได้ ทั้งนี้ด้วยสภาพแวดล้อมทางอากาศในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยมลพิษและฝุ่นละออง ทำ ให้ปัญหาที่เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ในการเกิดไซนัสเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
- ความผิดปกติในช่องจมูก เกิดจากริดสีดวงจมูกและกายวิภาคที่ผิดปกติไปกดเบียดรูเปิดไซนัส เช่น ผนังกั้นจมูกคด กระดูก turbinate บวม เมื่อช่องจมูกมีความผิดปกติ การถ่ายเทอากาศภายในช่องจมูกจึงทำ ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เกิดการอุดตันของรูเปิดไซนัส และเป็นสาเหตุให้เกิดไซนัสอักเสบได้นั่นเอง
โรดริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)
โรดริดสีดวงจมูก คือ การติดเชื้อและอักเสบเรื้อรังต่อเนื่องบริเวณโพรงไชนัส ทำให้เยื่อบุจมูกบวมมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดติ่งเนื้อ ที่เรียกว่า ริดสีดวง พบบ่อยในคนที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือ มีการอักเสบในจมูกเป็นระยะวลานาน
อาการ
- ปวดบริเวณใบหน้า โพรงไซนัส โหนกแก้ม
- แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก
- มีน้ำมูกสีเหลือง หรือ เขียว เป็นๆ หายๆ
- มีกลิ่นเหม็นในจมูก หรือ ไม่ค่อยได้กลิ่น
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด (ต้องมีอย่างน้อย 1 ข้อ)
- เยื่อแก้วหูทะลุหรือหูอื้อ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ (การบาดเจ็บ) หรือการผ่าตัดก่อนหน้าที่ไม่หายเกิน 3 เดือน
- ภาวะเยื่อแก้วหูทะลุที่มีผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถอาบน้ำหรือทำกิจกรรมทางน้ำได้อย่างปลอดภัย
- มีหนองหรือของเหลวไหลออกมาทางหูเกิน 6 สัปดาห์ แม้จะได้รับการรักษา ด้วยยาปฎิชีวนะแล้ว
- มีสภาวะการณ์สูญเสียการได้ยินร่วมด้วย
- มี Cholesteatoma เกิดขึ้นร่วมด้วย
- มีภาวะโพรงกระดูกหลังหูอักเสบเรื้อรัง mastoiditis เกิดขึ้น