นอกจากการนอนกรนจะมีผลกระทบกับคนรอบข้างแล้ว อาการนอนกรนยังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายที่ควรเฝ้าระวังอีกด้วย แล้วการนอนกรนแบบไหนที่น่าเป็นห่วงบ้าง
-
นอนกรนดังมากเป็นประจำ
-
หยุดหายใจเป็นช่วงๆ ระหว่างหลับ
-
อาการเหมือนหายใจไม่ออก หรือเหมือนสำลักน้ำลายขณะหลับ
-
ตื่นมาตอนเช้าไม่สดชื่น รู้สึกเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม
-
ปวดศีรษะในตอนเช้าเป็นประจำ
-
อ่อนเพลีย ง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน
-
ขาดสมาธิ ความจำไม่ดี
-
ปากแห้ง คอแห้ง รู้สึกเจ็บคอเมื่อตื่นขึ้นมา
-
ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
-
กัดฟันขณะนอนหลับ
-
เจ็บหน้าอกในตอนกลางคืน
-
ความดันโลหิตสูงโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงในการนอนกรน
-
ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน พบว่าผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
-
เป็นโรคภูมิแพ้บริเวณจมูกหรือมีริดสีดวงจมูก
-
มีสันจมูกเบี้ยวหรือคด รูปหน้าหรือคางผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางหลุบ
-
มีต่อมทอนซิลโตขวางทางเดินหายใจ
-
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ
-
การรับประทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด
-
ผู้หญิงเมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือน และผู้หญิงตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนจากการนอนกรน
โรคแทรกซ้อนขณะนอนกรนมีค่อนข้างมาก เนื่องจากเวลาที่หยุดหายใจหรือท่อทางเดินหายใจปิดตัวลงระดับออกซิเจนในร่างกายจะตกลงและร่างกายจะไม่ยอมขาดออกซิเจนต่ออาจทำให้เกิดการตื่นตัวของสมองให้กลับมาหายใจใหม่ ในการตื่นตัวบ่อย ๆ จะส่งผลให้นอนไม่พอทำให้เกิดโรคตามมาหลาย ๆ อย่าง เช่น โรคเครียด โรคซึมเศร้า รวมถึงโรคสมองเสื่อม อีกอย่างเมื่อระดับออกซิเจนลดลงทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้เลือดสูบฉีดไปทั่วร่างกายเป็นการชดเชยทำให้หัวใจทำงานหนักเป็นช่วง ๆ ยิ่งทำงานหนักบ่อย ๆ ก็เกิดโรคซึ่งโรคที่ตามมา ในกรณีนี้คือโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น