โรคข้อสะโพกเสื่อม, หัวกระดูกฟีเมอร์ขาดเลือดมาเลี้ยง (Arthritis of Hip, Avascular necrosis of the Femoral Head)
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้น อาจแบ่งใหญ่ๆ ออกเป็น 2 สาเหตุคือ
- โรคข้อสะโพกเสื่อมที่เกิดขึ้นเองอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเสื่อมตามอายุการใช้งาน ซึ่งจะพบมากในคนสูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- โรคข้อสะโพกเสื่อมที่เกิดจากความผิดปกติของข้อสะโพก เป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามหลังมาจากโรคอย่างใดอย่างหนึ่งของตัวข้อสะโพกมาก่อน สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ หัวกระดูกข้อสะโพกขาดเลือดมาเลี้ยงโดยเฉพาะ คนที่อายุน้อยกว่า 60 ปีลงมา สาเหตุอาจจะเกิดขึ้นในภาวะที่แตกต่างกัน เช่น การรับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน การรับประทานยาบางอย่างโดยเฉพาะยาแก้ปวด นักดำน้ำที่ชอบดำน้ำลึกๆ เป็นเวลานานๆ มีความผิดปกติเกี่ยวกับรูปร่างของตัวข้อสะโพกมาแต่กำเนิด, อุบัติเหตุที่ทำให้ข้อสะโพกแตกหักหรือหลุดทำให้ตัวหัวกระดูกข้อสะโพกขาดเลือดมาเลี้ยง
อาการของข้อสะโพกเสื่อมเบื้องต้นที่พอจะสับงเกตได้ เช่น เจ็บบริเวณขาหนีบด้านหน้าหรือบริเวณสะโพก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการขวดเข่าเป็นอาการนำ นองจากนั้นผู้ที่รู้สึกขัดๆ ฝืดๆ บริเวณสะโพกในตอนเช้าหรือเดินไม่คล่อง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาก่อนที่อาการเสื่อมจะรุนแรง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้อาการเสื่อมของข้อรุนแรงจนเกิดหัวสะโพกทรุด ทางเลือกในการรักษาจะมีน้อยลง โรคกระดูดต้นขาส่วนคอหักในผู้สูงอายุ (Fracture Femoral Neck in Elderly) ในผู้สูงอายุซึ่งมักพบว่ามีภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ร่วมอยู่ด้วยนั้น การหกล้มสะโพกกระแทกกับพื้นที่ไม่รุนแรงมากนักก็สามารถทำให้ประดูกสะโพกหักได้ ซึ่งแตกต่างจากในกลุ่มคนหนุ่มสาวกระดูกแข็งแรงที่มักเกิดจากอุบัติเหตุทางจราจรที่รุนแรงจริงๆ เท่านั้น
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก (Total Hip Replacement)
- ทุพพลภาพจนมีความเดือนร้อนในการใช้ชีวิตประจำวัน
- มีอาการปวดมาก รักษาด้วยไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น
- รักษาแบบอนุรักษ์ เช่น ลดน้ำหนัก ทานยา และหรือฉีด steroid เข้าข้อเป็นเวลา 6 เดือนแล้วไม่ดีขึ้น
- มีการใช้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวดจนเกิดโรคแทรกซ้อนเกิดการตกเลือดในทางเดือนอาหาร
- กระดูกต้นขาส่วนคอหักในผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี (ยกเว้นกรณีเกิดจากอุบัติเหตุจราจร) และมีภาวะข้อสะโพกเสื่อมร่วมด้วย