โรคต้อหิน (Glaucoma)
ต้อหิน เป็นกลุ่มโรคที่มีการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น และเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน ได้แก่ ความดันตาที่สูง
อาการ
ต้อหินมุมปิดชนิดเฉียบพลัน (Acute angle-closure glaucoma - AACG) ผู้ป่วยจะมีอาการของต้อหินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน มีอาการรุนแรง ทั้งปวดตา ตาแดง ตามัว มองเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ บางรายอาการอาจรุนแรงมากจนคลื่นไส้อาเจียน และอาจตาบอดได้ภายในเวลาไม่กี่วันถ้ารักษาไม่ทัน
ต้อหินมุมปิดชนิดกึ่งเฉียบพลัน อาการในกลุ่มนี้จะค่อนข้างน้อยและเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยอาจมีแค่อาการปวดศีรษะเล็กน้อยเป็นครั้งคราว ซึ่งการวินิจฉัยจะค่อนข้างยากหากไม่ได้รับการตรวจตา ผู้ป่วยมักได้รับการรักษาแบบโรคปวดศีรษะมาเป็นเวลานานโดยไม่ทราบว่าเป็นโรคต้อหิน
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด (ต้องมีอย่างน้อย 1 ข้อ)
- ได้รับการรักษาด้วยยาและเลเซอร์อย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมความดันลูกตาให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้
- ได้รับการรักษาโดยการใช้ยาและเลเซอร์จนความดันลูกตาอยู่ในระดับปกติ แต่ยังไม่มีการสูญเสียลายสายตา หรือเส้นใยประสาทอย่างต่อเนื่อง
- ไม่สามารถใช้ยาสำหรับควบคุมความดันลูกตาได้ หรือใช้ได้แต่ไม่สม่ำเสมอ