โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)

หมอนุ่น

เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย
  สาเหตุ เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรม ร่วมกับโครงสร้างของผิวหนังที่ไม่สมบูรณ์ และการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อผิวหนังไม่สมบูรณ์แข็งแรง สารระคายเคืองและสารก่อการแพ้จะผ่านเข้าสู่ผิวได้ง่าย

  อาการ ที่พบบ่อย คือ ผื่นผิวหนังอักเสบ, แดง, แห้ง  มีอาการเรื้อรังเป็นๆ หาย ๆ ลักษณะของผื่นที่พบได้ มักเป็นตุ่มหรือผื่นแดง อาจพบเป็นตุ่มน้ำใสแตกเป็นแผลมีน้ำเหลืองไหล หากเป็นแบบเรื้อรัง ผื่นจะมีความหนาแข็ง เป็นขุย 

สารก่อภูมิแพ้ ได้แก่

สารก่อภูมิแพ้อากาศ ได้แก่ ไรฝุ่น แมลงสาบ ขน หรือรังแคสัตว์ เชื้อรา ละอองเกสร
สารก่อภูมิแพ้ที่เป็นอาหารที่พบบ่อย ได้แก่ นมวัว ไข่ แป้งสาลี ถั่วเหลือง อาหารทะเล

ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ผื่นกำเริบ

  อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป ซึ่งเป็นผลทำให้มีเหงื่อ หรือผิวแห้ง
  การติดเชื้อ
  สารระคายเคืองผิวหนัง ได้แก่ สารเคมี ผงซักฟอก ผ้าเนื้อหยาบ สบู่ หรือแป้งฝุ่นบางชนิด
  ความเครียด วิตกกังวล

การได้รับสารก่อภูมิแพ้ดังกล่าวข้างต้น

การรักษา

1. การดูแลผิวแบบพื้นฐาน อาบน้ำด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ ลดการใช้สบู่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ทุกครั้งที่อาบน้ำ  หลังอาบน้ำต้องซับตัวหมาด ทาครีมหรือโลชั่นทุกครั้งหลังอาบน้ำ ภายใน 3 นาที  หลีกเหลี่ยงสารก่อความระคายเคืองแก่ผิว เช่น เหงื่อ น้ำลาย สารเคมี น้ำหอม แอลกอฮอล์  เสื้อผ้าที่หนาไม่ระบายอากาศ 

2. การรักษาเมื่อผื่นกำเริบ ยาทาต้านการอักเสบ เป็นตัวหลักในการรักษาผื่นกำเริบ ได้แก่
     o ยากลุ่ม steroid
     o ยากลุ่มที่ไม่ใช่ steroid

ยาฆ่าเชื้อชนิดทา ใช้เมื่อมีการติดเชื้อทางผิวหนัง
ยาฆ่าเชื้อชนิดรับประทาน ใช้เมื่อมีการติดเชื้อทางผิวหนังหลายตำแหน่ง หรือ เป็นบริเวณกว้าง
ยาแก้คันชนิดรับประทาน 

การทำความสะอาดผื่นที่มีน้ำเหลืองแห้งกรัง โดยการใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือประคบผื่นนาน 10-15 นาที แล้วเอาออก ทั้งนี้ เพื่อช่วยเอาสะเก็ดน้ำเหลืองบนผื่นออก ช่วยให้การทายามีประสิทธิภาพมากขึ้น

การรักษาอื่นๆ ในกรณีผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่รักษายากและไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาข้างต้น แพทย์อาจพิจารณาการรักษาอื่นๆ เช่น ยาต้านการอักเสบหรือยากดภูมิคุ้มกันชนิดรับประทาน การฉายแสง เป็นต้น

Privacy Settings