โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นส่งต่อไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะต่าง ๆ เมื่อต่อมไทรอยด์เกิดภาวะผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายมากมาย ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคไทรอยด์ จึงมีความสำคัญ เพราะเป็นการตรวจเพื่อค้นหาสาเหตุ ป้องกัน ลดภาวะแทรกซ้อน และรักษาได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์?
1. มีอาการของฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำเกินไป ได้แก่
-
อาการไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป เช่น เหนื่อยง่าย เพลียง่าย ขี้หนาว ท้องผูก น้ำหนักขึ้นง่าย ความคิดช้า เฉื่อยชา ง่วงนอน ขี้หนาว ผมร่วง ผิวแห้งหยาบ ตัวบวม หน้าบวม เป็นตะคริวบ่อย
-
อาการไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เช่น มือสั่น ใจสั่น น้ำหนักลดลง โดยที่ยังทานอาหารเป็นปกติหรือมากกว่าปกติ วิตกกังวล หงุดหงิดมากกว่าปกติ ตาโปนโตกว่าปกติ คอโตขึ้น ขับถ่ายบ่อยขึ้น เหงื่อออกมาก
2. มีประวัติเคยตรวจเลือดแล้วพบความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมนมาก่อน
3. มีประวัติได้รับการรักษาโรคไทรอยด์มาก่อน เช่น การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกลืนแร่ไอโอดีน
4. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์
5. เป็นเบาหวานชนิดที่ 1
6. มีภาวะมีบุตรยาก
7. คอโตหรือคลำเจอก้อนที่บริเวณคอด้านหน้า
รายการตรวจคัดกรองโรคไทรอยด์
-
ตรวจร่างกายโดยแพทย์
-
วัดความดันโลหิต, ชีพจร, ชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง
-
คำนวณค่าดัชนีมวลกาย
-
ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด (TSH)
-
ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด (FT3)
-
ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด (FT4)
-
ตรวจอัลตร้าซาวด์ไทรอยด์
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 043-042888
แผนกส่งเสริมสุขภาพ | โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น