สิทธิข้าราชการเบิกจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง

ผ่าตัดถุงน้ำลูกอัณฑะ

ผ่าตัดถุงน้ำลูกอัณฑะ

คือ ภาวะที่มีการสะสมของน้ำอยู่รอบลูกอัณฑะภายในถุงอัณฑะ ทำให้ถุงอัณฑะโป่งพองออกมา โรคถุงน้ำลูกอัณฑะเป็นโรคที่ไม่อันตรายและส่วนใหญ่จะหายได้เองโดยไม่ต้องการการรักษา

การวินิจฉัย

ประวัติ ผู้ป่วยจะมาด้วยถุงอัณฑะโป่งพอง 1-2 ข้าง โดยไม่มีอาการเจ็บมักจะเคลื่อนที่ได้ดีกว่าโรคไส้เลื่อนไม่สามารถดันให้กลับเข้าไปในช่องท้องได้เหมือนโรคไส้เลื่อน อาจมีอาการแน่นหรือหนักถุงอัณฑะได้ตรวจร่างกาย พบถุงอัณฑะโตขึ้น, ก้อนที่ถุงอัณฑะมีลักษณะนุ่ม, คลำเหนือก้อนได้ เพราะก้อนไม่ได้ต่อออกมาจากช่องท้องเหมือนโรคไส้เลื่อน เมื่อส่องไฟที่ก้อน (transillumination test) จะมีการเรืองแสงได้ เป็นลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกับโรคนี้

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

โรคถุงน้ำลูกอัณฑะในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง จะทำการผ่าตัดเอาถุงน้ำออกก็ต่อเมื่อ

  1. ถุงน้ำมีขนาดใหญ่จนทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแน่นหรือหนักๆ ที่ถุงอัณฑะมาก
  2. ถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
Privacy Settings